Sustainable processing of algal biomass for a comprehensive biorefinery

ในแต่ละปีทั่วโลกมีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเกือบ 15 พันล้านตัน และคาดว่าความต้องการพลังงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเกือบ 28% ภายในปี 2040 จากสถานการณ์ความรุนแรงของปัญหาสิ่งแวดล้อมและราคาปิโตรเลียมที่เพิ่มสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาทางเลือกอื่นเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานในอนาคต
 
ชีวมวลเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่สำคัญ ข้อจำกัดหนึ่งของการแปรรูปชีวมวลไปเป็นเชื้อเพลิงรูปแบบต่างๆ คือ ยังขาดเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง ดังนั้นนักวิจัยทั่วโลกจึงพยายามคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปชีวมวลที่ช่วยเพิ่มความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ
 
บทความนี้รวบรวมคุณลักษณะเด่นพร้อมกับข้อจำกัดของเทคโนโลยีชีวภาพและเคมีรูปแบบต่างๆ ที่ใช้สำหรับการแปรรูปชีวมวลสาหร่าย (algal biomass) เพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีศักยภาพ เช่น น้ำมัน แก๊สชีวภาพ แก๊สไฮโดรเจนชีวภาพ และเชื้อเพลิงแอลกอฮอล์
 
ในอนาคตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่ายอาจเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่มีต้นทุนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้
 
Research output from successful collaboration between Prof. Chawalit Ngamcharussrivichai (Faculty of Science, Chulalongkorn University) and Assoc. Prof. Umer Rashid (Institute of Advanced Technology, Universiti Putra Malaysia). This work is published in Journal of Biotechnology, Q2, JCR IF = 3.307.
 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *