Selective decarboxylation of biobased fatty acids using a Ni-FSM-16 catalyst

ในช่วงที่ผ่านมา ความต้องการใช้พลังงานทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยปิโตรเลียมยังคงเป็นแหล่งพลังงานหลักที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาวะโลกร้อน (Global warming) การพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) ที่ผลิตจากวัตถุดิบหมุนเวียนจึงได้รับความสนใจทั่วโลก

กรดไขมัน (Fatty acids) เป็นองค์ประกอบที่พบในน้ำมันพืชหรือไขสัตว์ จัดเป็นวัตถุดิบหมุนเวียนชนิดหนึ่ง ไม่เป็นพิษ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันน้ำมันพืช (เช่น น้ำมันปาล์ม) มีแนวโน้มของราคาที่ลดลง จึงเป็นวัตถุดิบที่น่าสนใจสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ

Decarboxylation เป็นหนึ่งในกระบวนการหลักที่ใช้ในการแปรรูปน้ำมันพืชเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน โดยกระบวนการนี้ดึงอะตอมออกซิเจนออกจากโมเลกุลของกรดไขมัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ไฮโดรคาร์บอนที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงดีเซล

CBRC ขอนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “Selective decarboxylation of biobased fatty acids using a Ni-FSM-16 catalyst” ซึ่งพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดใหม่สำหรับการแปรรูปกรดไขมันเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ตัวเร่งปฏิกิริยาที่สังเคราะห์ได้นั้นมีการเลือกจำเพาะสูง (high selectivity) ในการเร่งปฏิกิริยา ส่งผลให้ได้สารประกอบไฮโดรคาร์บอนช่วงเชื้อเพลิงดีเซลในปริมาณที่สูง

Recent research output from successful collaboration between Assist. Prof. Duangamol N. Tungasmita (Faculty of Science, Chulalongkorn University) and Prof. Joseph S.M. Samec (Stockholm University, Sweden). This work is published in Applied Catalysis B: Environmental, Tier1 Journal (JCR IF = 16.683).

Read this article: https://doi.org/10.1016/j.apcatb.2021.120050

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *