Enhanced enzymatic digestibility of water lettuce by liquid hot water pretreatment

ศ.ดร.อาภาณี เหลืองนฤมิตชัย นักวิจัยในเครือข่าย CBRC ร่วมกับ ผศ.ดร.อัครินทร์ บุญสมบัติ พัฒนาเทคโนโลยีในการปรับสภาพด้วยน้ำร้อนของจอก (Water lettuce) เพื่อแปรรูปเป็นน้ำตาล

ผลงานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Bioresource Technology Reports (Q2 Journal, JCR IF = 4.82)

ชีวมวลประเภทลิกโนเซลลูโลส (Lignocellulosic biomass) เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพและสารเคมีชีวภาพ (Biofuels and biochemicals) อย่างไรก็ดีโครงสร้างที่ยึดเกาะกันอย่างแข็งแรงของเซลลูโลส (Cellulose) เฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) และลิกนิน (Lignin) ทำให้ยากต่อการแปรรูปไปเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพต่างๆ ด้วยเอนไซม์

การปรับสภาพ (Pretreatment) จึงเป็นกระบวนการที่สำคัญในการย่อยโครงสร้างชีวมวล เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิว และเตรียมความพร้อมต่อการแปรรูปด้วยเอนไซม์ ซึ่งส่งผลให้สามารถผลิตน้ำตาลได้ในปริมาณที่สูงขึ้น การปรับสภาพด้วยน้ำร้อน (Liquid hot water pretreatment) เป็นวิธีการทางเคมีกายภาพ (Physicochemical method) ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดเมื่อเทียบกับวิธีการอื่น เนื่องจากไม่มีการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย มีการกัดกร่อนน้อย และใช้ระยะเวลาในการปรับสภาพน้อย

จอก (Water lettuce) เป็นพืชน้ำชนิดหนึ่งที่มีอยู่มากและจัดเป็นวัชพืชในแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งมีส่วนในการบดบังแสงอาทิตย์ลงสู่แหล่งน้ำ ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศของแหล่งน้ำอย่างมีนัยสำคัญ งานวิจัยนี้ศึกษาเทคโนโลยีในการปรับสภาพของจอกเพื่อหาภาวะที่เหมาะสมในการผลิตน้ำตาล โดยจากการศึกษาพบว่า จอกที่ผ่านการปรับสภาพด้วยน้ำร้อนในภาวะที่เหมาะสมสามารถนำไปผลิตน้ำตาลได้มากกว่าจอกที่ไม่ผ่านการปรับสภาพถึง 2.62 เท่า

อ่านงานวิจัยนี้ได้ที่ doi.org/10.1016/j.biteb.2022.101100

 

 

 

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *