Ameliorative photocatalytic dye degradation of hydrothermally synthesized bimetallic Ag-Sn hybrid nanocomposite treated upon domestic wastewater under visible light irradiation

azo dye

 

ศ.ดร.ชวลิต งามจรัสศรีวิชัย นักวิจัยในเครือข่าย CBRC ร่วมกับ Dr. Ashokkumar Veeramuthu และ ‪Dr. Selvakumar Dharmaraj คิดค้นการแปรรูปน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมสีย้อมให้เป็นน้ำเพื่อการเกษตรโดยใช้นาโนคอมพอสิตของเงินและดีบุก (Ag-Sn bimetal nanocomposite)

ผลงานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Hazardous Materials (Tier1 Journal, JCR IF = 10.588)

อุตสาหกรรมสีย้อมและสิ่งทอเป็นแหล่งสร้างมลพิษทางน้ำที่สำคัญ เนื่องจากสีย้อมในกลุ่มเอโซ (azo dye) เช่น methyl orange, methyl red, methylene blue หรือ rhodamine B ถูกกำจัดออกจากแหล่งน้ำได้ยากเมื่อเทียบกับสารประกอบอินทรีย์ชนิดอื่น นอกจากนี้ มีรายงานว่าสารพิษจากสีย้อมยังคงปะปนอยู่ในแหล่งน้ำแม้จะผ่านการบำบัดด้วยเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในโรงงานบำบัดน้ำเสีย

นาโนเทคโนโลยีร่วมกับการเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง (nanotechnology with photocatalytic activity) เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความสนใจ และมีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดสารอินทรีย์ที่ปนเปื้อนในน้ำเสีย นาโนคอมพอสิตของโลหะสองชนิด (bimetal nanocomposites) โดยเฉพาะ เงิน (Silver, Ag) และดีบุก (Tin, Sn) มีความสามารถในการบำบัดน้ำเสียผ่านการเร่งปฏิกิริยาด้วยแสงได้อย่างดีเยี่ยม

งานวิจัยนี้พัฒนานาโนคอมพอสิตของเงินและดีบุกด้วยกรรมวิธีไฮโดรเทอร์มอล (hydrothermal method) ซึ่งวัสดุนี้สามารถสลายสีย้อมในกลุ่มเอโซได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้น้ำเสียมีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง นอกจากนั้น น้ำเสียหลังจากการบำบัดสามารถนำมาใช้เร่งการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างมีนัยสำคัญ จึงเป็นแนวทางที่น่าสนใจในการใช้ประโยชน์จากน้ำทิ้งนี้ในภาคการเกษตร

Read this article: doi.org/10.1016/j.jhazmat.2021.126734

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *