Production of biodiesel over waste seashell-derived active and stable extrudate catalysts in a fixed-bed reactor

การผลิตไบโอดีเซลในเชิงพาณิชย์ใช้กระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน (transesterification) ของไตรกลีเซอไรด์ที่เป็นองค์ประกอบในน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์กับเมทานอลด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาเอกพันธุ์ชนิดเบส (homogeneous base catalysts) แต่กระบวนการนี้มีความยุ่งยากในการแยกตัวเร่งปฏิกิริยาออกจากผลิตภัณฑ์ ก่อให้เกิดน้ำเสียในปริมาณมาก กลีเซอรอลที่เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้มีความบริสุทธิ์ต่ำ

แนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาข้างต้นคือ การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ชนิดเบส (heterogeneous base catalysts) ระบบนี้มีกำลังการผลิตไบโอดีเซลที่สูงโดยใช้เครื่องปฎิกรณ์ชนิดเบดนิ่งแบบต่อเนื่อง (continuous-flow fixed-bed reactor) ซึ่งไบโอดีเซลและกลีเซอรอลที่ผลิตได้มีความบริสุทธิ์สูงโดยไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพ

CBRC ขอนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “Production of biodiesel over waste seashell-derived active and stable extrudate catalysts in a fixed-bed reactor” ซึ่งศึกษาการใช้เปลือกหอยตลับ (Meretrix meretrix) เป็นแหล่งแคลเซียม (Ca) ในการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ชนิดเบส โดยนำมาผ่านการอัดขึ้นรูปเป็น extrudates และใช้เร่งปฏิกิริยาการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มกับเมทานอลในเครื่องปฏิกรณ์ชนิดเบดนิ่งแบบต่อเนื่อง การศึกษาพบว่า อุณหภูมิที่ใช้ในการเผา (calcination temperature) ตัวเร่งปฏิกิริยา ส่งผลต่อความสามารถในการผลิตไบโอดีเซล โดยอุณหภูมิในการเผาที่เหมาะสมคือ 300 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้ได้ตัวเร่งปฎิกิริยาที่ผลิตไบโอดีเซลได้ในปริมาณสูงที่สุด 95 %

Research output from successful collaboration between Prof. Chawalit Ngamcharussrivichai (Faculty of Science, Chulalongkorn University) and Assoc. Prof. Umer Rashid (Institute of Advanced Technology, Universiti Putra Malaysia). This work is published in Environmental Technology & Innovation, Q1 Journal, JCR IF = 3.356.

Read this article: doi.org/10.1016/j.eti.2020.101051

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *