บริษัทผลิตวิสกี้ในประเทศสกอตแลนด์ (Scotland) ร่วมมือกันผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากผลิตภัณฑ์พลอยได้ (by-product)

 

บริษัทผลิตวิสกี้ 3 แห่งในประเทศสกอตแลนด์จับมือร่วมกันผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (biofuel) และสารเคมีที่มีมูลค่าจากผลิตภัณฑ์พลอยได้ (by-product) ที่มีมูลค่าต่ำจากกระบวนการกลั่นวิสกี้โดยใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ที่เป็นลิขสิทธ์เฉพาะของบริษัท Celtic Renewables ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่ร่วมมือกันครั้งนี้

ผลิตภัณฑ์พลอยได้ที่ถูกนำมาใช้ในครั้งนี้คือ “พอตเอล (pot ale)” ที่เป็นยีสต์เหลวที่เกิดจากกระบวนการกลั่นวิสกี้ในขั้นแรกและ “ดราฟท์ (draft)” ที่เป็นส่วนของเนื้อในเมล็ดข้าวบาร์เล่ย์ โดยปกติจะถูกนำมาผสมกันทำเป็นอาหารสัตว์ในฟาร์ม ผ่านกระบวนการหมักโดยใช้แบคทีเรีย ( bacterial fermentation) แบบใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกจากศูนย์วิจัยเชื้อเพลิงชีวภาพของมหาวิทยาลัยเอดินเบอระเนเปียร์ (Edinburgh Napier University) ในสกอตแลนด์ ในปี 2008 เพื่อผลิตไบโอบิวทานอล (Biobutanol) เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์โดยไม่ต้องมีการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์แต่อย่างใด นำไปสู่การก่อตั้งบริษัท Celtic Renewables ในปี 2012 โดยศาสตราจารย์ Martin Tangney OBE ซึ่งเป็นทั้งผู้ก่อตั้งและประธานบริษัทคนปัจจุบัน

ณ ปัจจุบัน บริษัทได้รับทุนสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมากกว่า £43 ล้านปอนด์ คาดว่าจะสามารถเปลี่ยนผลิตภัณฑ์พลอยได้เหล่านี้ จำนวน 50,000 ตันเป็นสารเคมีที่มีมูลค่าและเชื้อเพลิงชีวภาพได้ 1 ล้านลิตรต่อปี และมีแผนจะตั้งโรงงานขนาดใหญ่ 5 โรงงานในอีก 5 ปีข้างหน้าทั่วโลก เป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและตอบสนองต่อนโยบายด้านความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการผลิตวิสกี้ของสกอตแลนด์อย่างสูงในปัจจุบัน

Source : https://www.thedrinksbusiness.com/2022/03/how-scotch-whisky-is-playing-a-role-in-the-creation-of-biofuel/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *