Biodiesel Production Via Interesterification of Palm Oil and Ethyl Acetate Using Ion-Exchange Resin in a Packed-Bed Reactor

รศ.ดร.อรรถศักดิ์ จารีย์ นักวิจัยในเครือข่าย CBRC พัฒนากระบวนการผลิตไบโอดีเซลแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงและลดของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการในปัจจุบัน ผลงานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Bioenergy Research (Q2 Journal, JCR IF = 2.812)

ไบโอดีเซล (Biodiesel) เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่ได้รับความนิยมและการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน กระบวนการหลักที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล คือ ทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน (transesterification) โดยการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อทำให้กระบวนการเกิดได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตามกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการยังมีจุดด้อยหลายประการ เช่น การถ่ายโอนมวล (mass transfer) ระหว่างทำปฏิกิริยาในเครื่องปฎิกรณ์ น้ำเสียจากขั้นตอนการทำให้ผลิตภัณฑ์บริสุทธิ์ และผลิตภัณฑ์ข้างเคียง (by-product) ที่มีมูลค่าต่ำ กระบวนการนี้สามารถเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ข้างเคียงกลีเซอรอลให้เป็นไตรอะซีตินที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพของไบโอดีเซล (fuel additive) และเป็นสารตั้งต้นสำหรับการผลิตยา

การผลิตไบโอดีเซลแบบใหม่นี้ใช้ปฏิกิริยาอินเตอร์เอสเทอริฟิเคชัน (interesterification) ของน้ำมันปาล์มและเอทิลแอซิเตท (ethyl acetate) ในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่ง (fixed-bed reactor) ขนาดเล็ก

ผลการวิจัยพบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถให้ผลผลิตไบโอดีเซลสูงถึง 99% และเกิดไตรอะซีติน 6 % อีกทั้งตัวเร่งปฎิกิริยายังมีเสถียรภาพสูง สามารถใช้งานได้ 72 ชั่วโมงโดยที่ไม่เสื่อมสภาพและให้ผลผลิตคงที่ จึงถือเป็นกระบวนการที่มีศักยภาพในการพัฒนาเพื่อใช้ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรมต่อไป

Read this article: doi.org/10.1007/s12155-019-10051-4

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *