Effects of electrolytes and fractionated dissolved organic matter on selective adsorption of pharmaceuticals on terephthalic acid-based metal-organic frameworks

รศ.ดร.ปฏิภาณ ปัญญาพลกุล นักวิจัยในเครือข่าย CBRC ร่วมกับ ดร.ชลิตา รัตนเทวะเนตร นักวิจัยจาก NANOTEC‬ ศึกษาผลของชนิดไอออนและขนาดของสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำต่อกลไกการการดูดซับยาจากแหล่งน้ำ
ผลงานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Research (Tier1 Journal, JCR IF = 6.498)

อุตสาหกรรมและการวิจัยยาเป็นแหล่งสร้างมลพิษประเภทใหม่ที่สำคัญ เนื่องจากการตกค้างของยาในแหล่งน้ำเสียจากโรงพยาบาล โรงงานผลิตยา และสถาบันวิจัย ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของยีนที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ สารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ และสารก่อมะเร็ง

โครงข่ายโลหะ−สารอินทรีย์ (Metal−organic Frameworks: MOFs) เป็นวัสดุที่มีศักยภาพสูงในการกำจัดยาออกจากแหล่งน้ำ ผ่านการดูดซับด้วยโครงสร้างรูพรุนแบบยืดหยุ่น พันธะไฮโดรเจน (H-bonding) การซ้อนกันของไพบอนด์ (π-π stacking) และอันตรกิริยาไฟฟ้าสถิต (Electrostatic interactions) อย่างไรก็ดีการศึกษาในเชิงลึกถึงชนิดของแหล่งน้ำซึ่งมีไอออนต่างชนิด และขนาดของสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำ (Dissolved organic matter: DOM) ต่อกลไกการดูดซับยามีอยู่น้อยมาก

งานวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบของไอออนต่างชนิด รวมถึงขนาดโมเลกุลของ DOM ต่อการดูดซับ Carbamazepine (CBZ) and Ciprofloxacin (CIP) ซึ่งเป็นยาที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง โดยจากการศึกษาพบว่าซัลเฟต ไนเตรต หรือฟอสเฟต ส่งเสริมการดูดซับ CBZ หรือ CIP บน MIL-53(Al) นอกจากนี้ humic acid ที่มีขนาดเล็ก (<1KDa) และพบมากในแหล่งน้ำ ส่งเสริมการขยายตัว (Breathing effect) ของ MIL-53(Al) ซึ่งช่วยเพิ่มปริมาณการดูดซับยา

อ่านงานวิจัยนี้ได้ที่ doi.org/10.1016/j.envres.2020.110335

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *