Adsorption of iodinated trihalomethanes onto thiol functionalized ZIF-8s Active adsorption sites, adsorptive mechanisms, and dehalogenation by-products

กระบวนการปรับสภาพน้ำ (water treatment) เพื่อผลิตน้ำดื่มและน้ำประปาด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ซึ่งใช้สารออกซิแดนท์ เช่น คลอรีน(chlorine) คลอรามีน (chloramine) และคลอรีนไดออกไซด์ (chlorine dioxide) ส่งผลให้ไอโอดีน (iodine) ที่ละลายอยู่ในแหล่งน้ำแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ที่มีไอโอดีนเป็นองค์ประกอบ (Iodinated disinfection by-products, I-DBPs)

I-DBPs มีความเป็นพิษต่อเซลล์และพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตมากกว่าผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ที่มีคลอรีนและโบรมีนเป็นองค์ประกอบ (chlorinated and brominated DBPs) สิ่งที่น่ากังวลคือ I-DBPs มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปัจจุบัน เนื่องมากจากระดับน้ำทะเลที่หนุนสูงขึ้นในแต่ละปี

CBRC นำเสนอการกำจัด I-DBPs ด้วยวิธีการดูดซับ (adsorption) โดยใช้วัสดุโครงข่ายโลหะ−สารอินทรีย์ (Metal−organic Frameworks: MOFs) ชนิด zeolite imidazolate framework ชนิด ZIF-8 ซึ่งเป็นวัสดุที่มีพื้นผิวจำเพาะสูง มีเสถียรภาพสูงในน้ำ และมีตำแหน่ง active sites ในปริมาณมาก การปรับปรุงพื้นผิว ZIF-8 ด้วยหมู่ไทออล (thiol) ผ่านวิธี post-grafting สามารถเพิ่มอัตราเร็วและปริมาณการดูดซับ I-DBPs

“Adsorption of iodinated trihalomethanes onto thiol functionalized ZIF-8s: Active adsorption sites, adsorptive mechanisms, and dehalogenation by-products” is a research output from successful collaboration between Prof. Patiparn Punyapalakul (Department of Environmental Engineering, Chulalongkorn University) with Dr. Chalita Ratanatawanate (NANOTEC, National Science and Technology Development Agency),This work is published in Science of the Total Environment, Tier 1 Journal, JCR IF 6.551.

Read this article: doi.org/10.1016/j.scitotenv.2020.142376

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *